วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การผลิตมะนาวนอกฤดูแบบวงบ่อซีเมนต์ (ตอน ๒ )

การผลิตมะนาวนอกฤดูแบบวงบ่อซีเมนต์ (ตอน ๒ )

วิธีการปลูก
1.กำหนดจุดที่จะนำบ่อซีเมนต์วางลงบนตำแหน่ง ซึ่งจะวางบ่อซีเมนต์แบบแถวคู่หรือแถวเดี่ยวก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่และความสะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษา ถ้าต้องการวางแบบแถวคู่ ใช้ระยะห่างระหว่างวงบ่อคู่แรก 1.5  เมตร ทั้ง 2 ด้าน และระยะห่างของวงบ่อคู่แรก และคู่ที่ 2 ห่างกัน  2  เมตร   ถ้ามีพื้นที่มากสามารถวางวงบ่อแบบแถวเดี่ยวได้โดยใช้ระยะห่าง ระหว่างวงบ่อห่างกัน  2  เมตร  (ระยะห่างของวงบ่อให้วัดขอบชั้นนอกของวงบ่อซีเมนต์
2. เมื่อนำวงบ่อซีเมนต์วางลงตามจุดที่กำหนดแล้วนำดินที่ผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักแล้วลงใส่ในวงบ่อ โดยใช้เท้าย่ำดินรอบๆ ขอบวงบ่อ เพื่อให้ดินแน่นเมื่อทำการใส่น้ำแล้วดินจะไม่ยุบลงมาก โดยทำเป็นเป็นชั้นๆ จนดินเต็มวงบ่อ
                3. วางระบบน้ำตามที่ต้องการ
4. ขุดดินกลางวงบ่อ ใส่ปุ๋ยสูตร 15 -15- 15 รองก้นหลุม ประมาณ 1 ช้อนแกง ควรใช้ดินกลบปุ๋ยเพื่อไม่ให้ปุ๋ยสำผัสกับรากมะนาวโดยตรง  แล้วนำนำกิ่งพันธุ์มะนาวลงปลูกโดยใช้ไม้ค้ำยันกันลมโยก
                5. เปิดน้ำให้ชุ่ม

การปฏิบัติการดูแลรักษา
การให้น้ำ หลังจากปลูกมะนาวลงวงบ่อซีเมนต์แล้ว ควรมีการรดน้ำอยู่เสมอ 1-3 วันต่อครั้งโดยใช้สายยางรดน้ำ,ใช้ระบบสปริงเกอร์ หรือระบบหยดน้ำก็ใช้ได้
                การใส่ปุ๋ยนอกจากจะมีการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกในการเตรียมดินปลูกแล้วควรมีการใส่ปุ๋ยเคมี เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของมะนาวด้วยโดยมีการใส่ปุ๋ยเคมี เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของมะนาวด้วย โดยมีการใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หลังจากปลูกทุกๆ 1-2 เดือน อัตรา1 ช้อนแกงต่อต้น ส่วนในระยะบังคับให้ออกดอกติดผลควรใส่ปุ๋ย สูตร 12-24-12 อัตรา 1 ช้อนแกงต่อต้น และนำการใส่ปุ๋ยทุกครั้ง ควรมีการรดน้ำให้ชุ่ม เพื่อช่วยละลายปุ๋ยให้เป็นประโยชน์ต่อมะนาวมากที่สุด การทำมะนาวในวงบ่อซีเมนต์สามารถให้ผลผลิตได้เมื่อมะนาวอายุ 9 เดือน
                การตัดแต่งกิ่ง โดยทั่วไปถ้ามะนาวสมบูรณ์ดี มะนาวจะแตกกิ่งเล็กๆ จำนวนมากและแตกกิ่งไม่เป็นระเบียบแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ ฉะนั้นผู้ปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ ควรมีการตัดแต่งกิ่งมะนาวที่ไม่สมบูรณ์ที่ไม่เป็นระเบียบหรือเป็นกิ่งซ้อนกันหลายกิ่ง รวมทั้งกิ่งเป็นโรค หรือกิ่งที่แห้งออกอยู่เสมอ และในการตัดแต่งกิ่งนั้นควรเลือกกิ่งหลักๆ การะจายไปทุกด้านไม่ควรหนักไปทางทิศทางใดทิศทางหนึ่งมากเกินไป เมื่อมะนาวออกดอกติดผลมากต้นอาจโค่นได้

                โรคและแมลงศัตรูมะนาว
โรคมะนาว ในพืชตระกูลส้ม ซึ่งได้แก่มะนาว ส้มเขียวหวาน ส้มเกลี้ยง ส้มตราส้มโอ และมะกรูด มะนาวจะมีการเข้าทำลายเนื่องจากโรคต่างๆมากที่สุด โรคของมะนาวที่สำคัญคือ โรคแคงเกอร์ โรคยางไหล โรคใบแก้ว โรคทริสเทซ่า โรคราดำ และโรครากและโคนเน่า เป็นต้น

1.โรคแคงเกอร์  สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โรคนี้เข้าทำลายทั้งบนใบอ่อน กิ่งอ่อน แผลผลของมะนาว ทำให้เกิดแผลตกสะเก็ดบนใบ กิ่งและผล ถ้าระบาดมากใบจะร่วง และกิ่งจะแห้งตายผลขรุขระไม่น่ารับประทาน 
                การป้องกันและการจำกัด
1.มีการคัดเลือกพันธุ์มะนาว ที่มีการเข้าทำลายของโรคแคงเกอร์น้อยมาปลูกได้แก่  มะนาวพันธุ์น้ำหอม มะนาวพันธุ์ตาฮิติ เป็นต้น
2.ไม่ควรขยายพันธุ์มะนาวที่มีเชื้อแคงเกอร์มาปลูก
3.ตัดแต่งใบ กิ่ง และผลมะนาวที่เป็นโรคนี้ไปเผาไฟ และไม่ควรปล่อยให้มีใบที่เป็นโรคนี้ร่วงหล่นอยู่ใกล้ๆ โคนมะนาวจะเป็นที่สะสมโรคได้
4.พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชที่เป็นพาหะนำโรค ซึ่งได้แก่ หนอนชอนใบ เช่น  สารอะบา   แม็คติน
5.พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแคงเกอร์ ได้แก่ สารประกอบทองแดง เช่น คูปราวิต หรือ คอปเปอร์อ๊อกซีคลอไรด์หรือใช้สารแคงเกอร์เอ็กซ์ เป็นต้น


2.โรคยางไหล  สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อรา หรือเกิดจากการขาดน้ำ หรือการขาดธาตุอาหารบางชนิด มะนาวที่เป็นโรคนี้จะมียางไหลออกมาตามรอยแตกของเปลือก ต้นจะทรุดโทรม กิ่งแห้ง และใบไม่สดใส
                การป้องกันและการกำจัด
                1.ไม่ควรนำกิ่งพันธุ์ที่มียางไหลมาปลูก
                2.ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคนี้ไปเผาทำลาย
                3.บำรุงต้นมะนาวให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ
                4.พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรค ได้แก่คอปเปอร์อ๊อกซีคลอไรด์  เช่น คูปราวิตคอปเปอร์อ๊อกซีคลอไรด์  85 เป็นต้น

3.โรคใบแก้ว สาเหตุของโรคเกิดจากการขาดธาตุสังกะสี หรือธาตุอาหารรองอื่นๆ มะนาวที่เป็นโรคนี้จะพบอาการใบด่างสีเหลืองหรือขาวใส ระหว่างเส้นใบของมะนาว ใบมีลักษณะเรียวเล็ก ผลมีขนาดเล็กไม่คอ่ยมีน้ำ ต้นทรุดโทรม
                การป้องกันและการกำจัด
                1.ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคมาเผาทำลาย
                2.ให้ปุ๋ยทางใบ โดยเฉพาะปุ๋ยที่มีธาตุสังกะสี และธาตุแม็กนีเซียม
               
4.โรคทริสเทซ่า สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อไวรัส มะนาวที่เป็นโรคนี้ต้นจะทรุดโทรม แคระแกร็น ใบเหลือง หรือใบด่าง ใบอ่อน มีขนาดเล็กผิดปกติ เส้นใบโปร่งใสต่อกันเป็นจำนวนมาก

                การป้องกันและการกำจัด
                1.ขยายพันธุ์มะนาวจากต้นที่ไม่เป็นต้นที่ไม่เป็นโรคนี้มาปลูก
                2.เมื่อพบมะนาว ที่เป็นโรคนี้ควรขุดเผาทำลาย
                3.พ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงที่เป็นพาหะของโรค ซึ่งได้แก่ เพลี้ยอ่อนโดยการใช้สารคาร์บาริล เช่น เซฟวิน 85 หรือใช้สารคาร์โบซัลแฟน เช่น พอซ์ส เป็นต้น

5.โรคราดำ สาเหตุเกิดจากเชื้อราสีดำ ปกคลุมใบ  กิ่งต้น และผล ทำให้มะนาวสังเคราะห์แสงได้น้อย ราดำมักเกิดจากแมลงปากดูด เช่นเพลี้ยอ่อน  เพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้ง
                การป้องกันกำจัด
                1.ตัดแต่งกิ่ง  ใบ  หรือผล ที่เป็นโรคเผาทำลาย
                2. พ่นสารเคมี เป็นสารประกอบทองแดง เช่นคอปเปอร์อ็อกซี่คลอไรด์
                3. กำจัดแมลงปากดูด

6.โรครากเน่าโคนเน่า เกิดจากเชื้อไฟทอปทอร่า  หรือเกิดจากปลูกมะนาวลึกเกินไป หรือเกิดจากใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่ยังไม่สลายตัว มะนาวจะแสดงใบเหลือง  ใบร่วง
                การป้องกันกำจัด
                1.ไม่ควรปลูกมะนาวลึกเกินไป
                2. ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่นำมาใช้ควรให้มีการสลายตัวก่อนนำมาใช้
                3. ในการปลูกมะนาวในวงบ่อ ไม่ควรใช้วงบ่อที่มีก้นวงบ่อติดกับวงบ่อโดยตรง การระบายน้ำไม่สะดวก
แมลงศัตรูมะนาว
                1. หนอนชอนใบ จะเข้าทำลายมะนาวระยะใบอ่อน โดยตัวหนอนจะชอนอยู่ใต้ผิวใบทั้งด้านหน้าและด้านหลังใบ สังเกตเป็นทางสีขาว ทำให้ใบมะนาวหงิกงอ ใบมะนาวดังกล่าวจะเป็นโรคแคงเกอร์ตามมา
                                การป้องกันกำจัด
                                ตัดแต่งกิ่งที่แมลงเข้าทำลาย โดยนำไปเผาไฟทิ้ง  และใช้สารเคมี กลุ่มอะบาแม็คติน ฉีดพ่น
                2. หนอนกินใบจะกันกินใบอ่อน ถ้าระบาดมากใบอ่อนของมะนาวจะถูกกัดกินทั้งหมด ภายใน 2-3 วัน
               
                                การป้องกันและการกำจัด
                1.หมั่นตรวจดูใบและยอดอ่อนเมื่อพบไข่หรือตัวหนอนควรจับทำลาย
                2.พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโดยใช้สารจำพวก ไซเปอร์
3.เพลี้ยหอย  จะดูดกินน้ำเลี้ยงจาก ใบ กิ่ง ผล ทำให้ต้นไม่สมบูรณ์ ผล คุณภาพไม่ดี
                การป้องกันและการกำจัด
                1.หมั่นตรวจดูใบและกิ่งมะนาวหากพบเพลี้ยหอยควรตัดแต่งกิ่งเผาทำลาย
                2.พ่นสารเคมี
4.เพลี้ยอ่อน จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและกิ่งของมะนาวทำให้ใบหงิกงอชะงักการเจริญเติบโต
                การป้องกันและการกำจัด
                1.ตัดแต่งกิ่งที่ถูกเพลี้ยอ่อนทำลายนำไปเผาไฟ
2.พ่นสารเคมี
5.เพลี้ยไฟ จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆของดอกมะนาวทำให้มะนาวไม่ค่อยติดผลผิวมะนาวขรุขระไม่น่า
รับประทาน
                การป้องกันและการกำจัด
                1.พ่นสารเคมีจำพวก อะบาเม็กติน
6.ไรแดง จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อน ทำให้ใบหงิกงอ ถ้าพบที่ผลผลจะไม่สมบูรณ์ผิวขรุขระ
                การป้องกันกำจัด
                1.พ่นด้วยกัมมะถันผง ชนิดละลายน้ำช่วงเวลาเช้าหรือเย็น
                2.พ่นสารเคมี